HEADQUARTERS +66 089-110-941-9

ครอบครัวมุสลิม ถ้าภรรยาไม่ทำงานบ้าน ทำอย่างไร?

Published by Yaoharee Lahtee on

บทความโดย เยาฮารี แหละตี

ในการแต่งงานอิสลาม ชายมุสลิมอาจมีความคาดหวังว่า จะใช้ระบบ ให้ ผู้ชายหาเลี้ยงครอบครัว และ ฝ่ายหญิงดูแลบ้าน และบุตร อย่างไรก็ดี ความคาดหวังนี้ อาจไม่ตรงกันเสมอไป และ นำไปสู่ความขัดแย้งในครอบครัว

ปัจจุบัน ผู้หญิง มีการศึกษาและมีรายได้ และมีการประกอบอาชีพนอกบ้าน ในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนพบว่า ผู้หญิงมีการศึกษาเฉลี่ยสูงกว่าผู้ชาย และ ประกอบอาชีพและหารายได้ให้กับครอบครัว โดยผู้หญิงกว่า 92% ทำงานตามปกติ แม้จะแต่งงานแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ดี บ้านเป็นพื้นที่ปลอดภัย และที่พักใจจากการใช้ชีวิตทั้งหมด ความสะอาดและความเป็นระเบียบของบ้านเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อชายและหญิงที่ต่างทำงานแล้วกลับมาถึงบ้าน อาจเกิดการขัดแย้งกันถึงบทบาทหน้าที่ว่าใครควรทำอะไรได้

ในเรื่องนี้ไม่ได้มีคำตอบที่ตายตัวนัก เนื่องจาก เป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาหารือกันทั้งสองฝ่าย ในศาสนาอิสลามแม้การหาเลี้ยงครอบครัวจะเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายชาย และ การดูแลบ้านและบุตรจะเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายหญิง แต่เราพบว่า ท่านศาสนามุฮัมหมัด (ซล) ท่านช่วยงานบ้านภรรยาของท่านเสมอ นั่นหมายความว่า ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะสนับสนุน กันและกันได้ในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่หลักของตัวเอง

ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายทำงานทั้งคู่ การตกลงกันตั้งแต่ต้นในเรื่องนี้จะช่วยให้บ้าน น่าอยู่ขึ้น ถ้าในท้ายที่สุดคือ ทั้งสองฝ่าย ยังต้องทำงานเพื่อนำรายได้มาสู่ครอบครัว ทางเลือกอย่าง “แบ่งงานกันทำ” หรือ “การจัดหาแม่บ้าน” อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพระาอย่างไรก็ดี บ้านต้องสะอาดเสมอ เพื่อให้ เป็นที่เรารู้สึกอยากกลับมาพักผ่อน เสมอ

“การจัดหาแม่บ้าน” ควรเป็นทางเลือกต้นๆ ในกรณีที่ทั้งสองฝ่าย มีรายได้ที่เพียงพอ และต่างช่วยกันในการหาเลี้ยงครอบครัว โดยอาจจะทดลองจัดหาแม่บ้านแบบรายครั้ง หรือรายวัน ถ้าได้ผลจึงค่อยจ้างแบบรายสัปดาห์หรือรายเดือน หรือกรณีไม่ได้จัดหาแม่บ้าน สิ่งที่ควรทำคือ การไม่ทะเลาะกันในเรื่องเหล่านี้ โดยอ้างสิทธิและหน้าที่ เพราะในท้ายที่สุด ภรรยา และ สามี ทั้งสองฝ่ายต่าง ทำหน้าที่ จุนเจือครอบครัวไม่ด้อยไปกว่ากัน และ พระเจ้าได้ย้ำเตือว่า จงยำเกรงพระองค์ในสิ่งที่ ทั้งสองฝ่ายต่างเรียกร้องกัน เพื่อย้ำเตือนว่า การเรียกร้องสิทธิใดๆต่อนกันนั้น ควรเป็นไปด้วยความถ่อมตนและ มีเจตนาที่ดีต่อกันต่อหน้าพระเจ้า ตามหลักการศาสนาอิสลาม

นอกจากนี้ การใช้ตัวช่วยเช่นเครือญาติ เช่น พ่อตา แม่ยาย มาช่วยดูแลบ้าน เลี้ยงบุตร ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดี อย่างไรก็ดี การบริหารพื้นที่และความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจสร้างความอึดอัดใจได้ การจัดระเบียบ เหล่านี้ล้วนต้อง พูดคุยและวางแผน โดยไม่ละเลย

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ภรรยาไม่ทำงาน และไม่ทำงานบ้าน การปรึกษาหารือร่วมกันเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย กรณีสามีไม่สามารถอบรมภรรยาได้ ก็ควรปรึกษาผู้ปกครองของเธอเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและหาทางแก้ไขก่อนปัญหาบานปลาย เช่นเดียวกับ สามีที่ไม่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวฝ่ายหญิงก็ควรปรึกษาครอบครัวฝ่ายชายเพื่อวางแผนประเมินการแก้ปัญหาต่อไป

สุดท้ายนี้จะเห็นได้ว่า การสื่อสารด้วยดี ตามหลักการศาสนาอิสลามเป็นเรื่องที่ศาสนาเน้นย้ำและร้องขอเสมอให้ทั้งสองฝ่ายปรึกษาหารือกัน มีหลายเรื่องจำนวนมากที่ทต้องวางแผนก่อนเริ่มต้นชีวิตคู่ วันนี้ วิสาหกิจเพื่อสังคม บริษัทอารยานิกะห์ นำประเด็นเหล่านี้มาฝาก สำหรับบ่าวสาวที่ต้องการวางแผนเรียนรู้ เพิ่มเติม ปัจจุบัน บริษัทมีหลักสูตร วางแผนครอบครัวมุสลิม หรือ อบรมนิกะห์จัดขึ้นทุกเดือน โดยเป็นทั้งหลักสูตร ศาสนา วางแผนครบอครัว การเงินและกฏหมาย สามารถสอบถามทางข้อความเพจได้นะครับ เจอกันในชั้นเรียนครับ


Yaoharee Lahtee

Yaoharee Lahtee

ผู้ก่อตั้ง อารยานิกะห์ ฯ วิสาหกิจเพื่อสังคม ฮับของการแต่งงานอิสลามระหว่างประเทศ สร้างพื้นที่ปลอดภัย เติมเต็มทุกความสัมพันธ์ ของครอบครัวมุสลิม ด้วยความเข้าใจและยุติธรรม เพราะการเริ่มต้นที่ดี สร้างชีวิตที่ยั่งยืน

0 Comments

ใส่ความเห็น

Avatar placeholder