HEADQUARTERS +66 089-110-941-9

วางแผนการเงินครอบครัวอิสลาม เบื้องต้น

Published by ArayaWeddingPlanner on

แนวคิดด้านการเงิน ในครอบครัวมุสลิมนั้น ใช้หลัก การแยกทรัพย์สิน ของใครของมัน แม้จะแต่งงานแล้วก็ตาม ถึงแม้จะมีเรื่องของสินสมรสและสินส่วนรวมอยู่บ้าง แต่ก็มุมมองต่อทรัพย์สินเหล่านั้นก็ยังผูกพันว่าใครเป็นผู้หามาในสัดส่วนเท่าไหร่ ดังนั้นการเข้าใจ เรื่องนี้จะช่วยให้ จัดการชีวิตครอบครัวง่ายขึ้น หัวข้อในบทความนี้ประกอบด้วย


ผู้ชายต้องจ่ายอะไรบ้างในครอบครัวอิสลาม?

ในการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวหลังจากแต่งงานอิสลามนั้น เมื่อ ชายมุสลิม มีความพร้อมที่จะสามารถเลี้ยงดูตัวเองรวมทั้งมีสถานะการเงินพอจะเลี้ยงดูครอบครัวและความประสงค์จะแต่งงาน แล้ว ฝ่ายชายจะสู่ขอฝ่ายหญิง และ ทำการแต่งงาน โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนที่ฝ่ายชายมีหน้าที่หลักคือ

  • มะฮัดร์ คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายต้องให้กับ ผู้หญิง เป็นจำนวนเหมาะสม แห่งเกียรติและฐานะของฝ่ายหญิง
  • ของขวัญอื่นๆ เช่น แหวน อื่นๆ ( ไม่จำเป็น)

และเมื่อเริ่มการเป็ฯครอบครัวแล้วฝ่ายชายต้องรับผิดชอบในเรื่อง ที่เรียกว่า นาฟาเกาะห์ ซึ่งครอบคลุม

  • ของอุปโภคบริโภค อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สำหรับ ภรรยา และ บุตร
  • ที่อยู่อาศัย (ขณะอยู่ในสถานะภรรยา) ที่อยู่อาศัยสำหรับ เลี้ยงดูบุตร จนบรรลุศาสนภาวะ
  • ค่าใช้จ่าย ส่วนบุคคล สำหรับ ภรรยา และ บุตร

จะสังเกตุว่า ตามหลักการศาสนาอิสลามนั้น ฝ่ายชายต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 100%


ผู้หญิงต้องจ่ายอะไรบ้างในครอบครัวอิสลาม?

ผู้หญิงในครอบครัวอิสลามนั้น มีหน้าที่สนับสนุน ผู้ชายให้สามารถสร้างครอบครัวที่สงบสุข และเลี้ยงดูบุตรเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง ดูแลบ้านเรือนอยู่อาศัยให้เป็นที่แห่งความสงบสุขและสุขสบาย ตามหลักการศาสนาอิสลามแล้ว ในเรื่องครอบครัว ฝ่ายหญิงไม่จำเป็นต้องชำระค่าใช้จ่ายใดๆเลย อย่างไรก็ดี ในเรื่องการเงินนั้น ฝ่ายหญิงสามารถสนับสนุนฝ่ายชายได้สองวิธี

  • ให้เปล่า ช่วยเหลือค่าส่วนกลาง ต่างๆที่เป็นภาระของฝ่ายชายโดยการให้เปล่า โดยสมัครใจ
  • ให้ยืม ช่วยเหลือค่าส่วนกลาง ต่างๆที่เป็นภาระของฝ่ายชายด้วยการให้ยืม

กรณีฝ่ายหญิงร้องขอค่าส่งเสียเลี้ยงดูตามสิทธิ และฝ่ายชายยังไม่สามารถให้ได้นั้น ในทางศาสนา ฝ่ายชายจะเป็นหนี้ของฝ่ายหญิงโดยทันที และสะสมไปเรื่อยๆ


หญิงชายมุสลิม วางแผนการเงินร่วมกันอย่างไรก่อนแต่งงาน?

ด้วยลักษณะโครงสร้างทางการเงินแบบนี้ บริษัทอารยา แนะนำว่า ควรจะ ต้อง แยกกระเป๋า 100 % แม้จะแต่งงานแล้ว และ เริ่มต้นด้วย การให้ฝ่ายชาย ชำระ นาฟาเกาะห์ (หรือค่าส่งเสียเลี้ยงดู) กับฝ่ายหญิงเป็นตัวเลข ที่ชัดเจน และ หลีกเลี่ยงการมีทรัพย์สินร่วมกัน โดยไม่จำเป็น กรณีเป็น การซื้อบ้าน ถ้าฝ่ายหญิง สามารถดูแลด้วยตัวเองได้ ก็ให้ดูแลด้วยตัวเอง ขั้นตอนเบื้องต้น ในการวางแผนการเงินครอบครัว

  1. กำหนดค่าใช้จ่ายในครอบครัว ที่ต้องใช้ ค่าอุปโภค บริโภค ค่าเคหสถาน ค่าใช้จ่ายส่วนตัวภรรยา
  2. กำหนดค่านาฟาเกาะห์ที่ฝ่ายชายพึงรับผิดชอบ จากตัวเลขนั้น
  3. กรณีฝ่ายชายไม่สามารถชำระได้ทั้งหมด ให้ประเมินว่าฝ่ายหญิงจะช่วยในลักษณะ ให้เปล่า หรือ ให้ยืม
  4. กรณีฝ่ายชายดูแลค่านาเฟาเกาะให้เก็บเงินทั้งหมดที่ฝ่ายชาย ยกเว้นเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวภรรยา ต้องให้ตามกำหนด
  5. ฝ่ายหญิงสามารถดูแลนาฟาเกาะห์ได้ตามตกลง
  6. ทรัยพ์สินอื่นๆให้ตั้งเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ทั้งของสามี และภรรยา ที่่หามาได้เองเป็นของคนนั้นๆ ไม่เกี่ยวข้องกัน
  7. กรณีซื้อรถ หรือซื้อบ้าน ให้ทำข้อตกลงชัดเจน ในเรื่องความเป็นเจ้าของ ในสัดส่วนเท่าไหร่ หรือ สามารถเป็นการให้ยืมเช่นสามียืมเงินภรรยา เพื่อซื้อรถ เป็นต้น
  8. ทรัพย์สินบางอย่างเช่น บ้านอยู่อาศัยสำหรับเลี้ยงดูบุตร ถ้าฝ่ายภรรยาสามารถครอบครองเป็นเจ้าของฝ่ายเดียวได้จะเพิ่มความมั่นคงให้กับฝ่ายหญิง เช่น ฝ่ายหญิงมีบ้านอยู่แล้ว ฝ่ายชายจะช่วยผ่อนให้เปลี่ยนเงินผ่อนเป็นนาฟาเกาะห์ แล้ว ฝ่ายหญิงรับผิดชอบการผ่อนบ้านเองทั้งหมด จะดีกว่า และ ลดปัญหาเวลาหย่าร้าง

กฏหมายประเทศไทย กฏหมายอิสลามในประเทศไทย และ สัญญาก่อนสมรส

ระบบกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนครอบครัวนั้น มีมุมมองเรื่องสินสมรส ไม่ตรงกันกับแนวคิดทางหลักการศาสนาอิสลาม กรณีมีแผนจะใช้แนวคิดตามหลักการศาสนาอิสลามในประเทศไทย แต่ เมื่อเกิดปัญหาสามารถใช้ กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ตัดสินได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องทำสัญญาก่อนสมรส และ แนบกับทะเบียนสมรส เท่านั้น ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ สามารถจัดการทรัพย์สินตามหลักการศาสนาอิสลามได้ และ ใช้ กฏหมายประเทศไทยในการจัดการปัญหาครอบครัวไปพร้อมๆกันได้นั่นเอง


การวางแผนการเงินส่วนบุคคล สำหรับผู้เป็นมุสลิม

การวางแผนการเงิน ส่วนบุคคล มีความสำคัญกับผู้เป็นมุสลิม เพราะ การจัดการเงินที่มีประสิทธิภาพนั้น จะสะทอ้นถึงการจัดการความรับผิดชอบต่างๆในชีวิตตามหลักการศาสนาอิสลามได้ด้วยเช่นกัน ถ้ามุสลิมสามารถ รับผิดชอบภรรยา และบุตรได้ ย่อม ถือเป็นความดีงามหรือบารอกัต ตามหลักการศาสนาอิสลาม และถ้า ชายและหญิงมุสลิมสามารถมีทรัยพ์สินเหลือ พอสำหรับการบริจาค ให้กับสังคมา ก็จะเป็นความดีที่เพิ่มพูนขึ้น ในขณะเดียวกัน การออมอย่างน้อย 3-12 เดือนของรายจ่าย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตครอบครับ ตัวอย่างสูตรการคำนวณ การวางแผนการเงิน สำหรับผู้เป็นมุสลิมเช่น

IN = B + EH + SI + ZS + U

  • IN คือ Income หรือ รายรับตลอดเดือน หรือ ตลอดปี
  • B คือ Basic Needs หรือความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหาร อุปโภค บริโภค เครื่องนุ่มห่ม
  • EH คือ Children’s Education and health หรือ ค่าการศึกษาบุตร และ ค่ารักษาพยาบาลครอบครัว
  • SI คือ Saving and Investment คือ เงินสะสม และการลงทุน (เช่นสะสมเงินออมค่าใช้จ่ายครัวเรือนได้ 1 ปีแล้วก็ เริ่มลงทุน)
  • ZS คือ Zakat and Shadaqah คือเงินบริจาคที่ใช้ในหนทางศาสนาและพัฒนาสังคม
  • U คือ Urgent need เงินใช้จ่ายฉุกเฉินทั่วๆไป ที่เกิดจากความอยากได้ในทันที

ตัวอย่างเช่น
ครอบครัวหนึ่ง มีรายรับ 3,000,000 บาทต่อปี แบ่งเป็น

1.Basic Needs= 50% x 3,000,000 THB= 1,5000,000 THB
2.Children’s Education and health = 15% x 3,000,000 THB=450,000 THB
3.Saving and Investment = 15% x 3,000,000 THB=450,000 THB
4.Zakat and Shadaqah= 15% x 3,000,000 THB=450,000 THB
5.Urgent Needs= 5% x 3,000,000 THB=150,000 THB
Total=3,000,000 THB
*** เปอร์เซนต์สามารถบริหารได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว

ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในเรื่องการเงินครอบครัวมุสลิมไทย

แม้หลักศาสนาอิสลามจะวางระบบไว้ชัดเจนว่า ฝ่ายชายเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวทั้งหมด อย่างไรก็ดีในปทางปฏิบัติ เรากลับพบกว่า ครอบครัวส่วนใหญ่ ฝ่ายหญิงยังต้องช่วยหาเลี้ยงครอบครัว หรือ เป็นผู้นำการหาเลี้ยงครอบครัว นอกจากนี้ ทรัพย์สินที่ได้มานั้น ก็เข้าสู่การจัดการที่ไม่เป็นระบบ ปะปนกัน และขาดการวางแผน ทำให้ ครอบครัวมุสลิมหลายบ้านประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง การชักหน้าไม่ถึงหลัง นำไปสู่ความขัดแย้งในครอบครัว และเมื่อถึงขั้นแตกหัก หรือ หย่าร้าง ก็พบว่า ประเทศไทยยังไม่มีระบบการหย่าร้างที่ดี และด้วยความแตกต่างทางกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ของกฏหมายไทย และ กฏหมายอิสลามประเทศไทย ทำให้ เมือ่เกิดการหย่าร้าง นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรง และโดยมาก ฝ่ายหญิงจะเสียเปรียบ ดังนั้น การพัฒนาความรู้ในเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งและเร่งด่วน เพื่อให้ ครอบครัวมีความมั่นคง


บทสรุป ความสำคัญของการวางแผนการเงิน

การดูแลครอบครัวตามหน้าที่ของผู้ชายมุสลิม นั้นต้องใช้ อาชีพสุจริต และรายได้ที่มั่นคง เพื่อให้สามารถดูแลครอบครัวได้ และเป็นหน้าที่ตามหลักการของศาสนาอิสลาม การวางแผนการเงินเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะกับผู้ชายที่มีภาระรับผิดชอบมากกว่าฝ่ายหญิงในเรื่องนี้อย่างเด่นชัด สำหรับฝ่ายหญิงเอง การมีความรู้เรื่องการวางแผนการเงินครอบครัว และ การจัดการทรัพยฺสินส่วนตัวและส่วนร่วม นอกจากจะช่วยให้ บ้านมีความสงบสุขและมั่นคงแล้ว ยังช่วยให้ฝ่ายหญิง สามารถวางหลักประกันให้บุตร และตัวเอง เมื่อประสบปัญหาการหย่าร้าง หรือ เสียชีวิตของสามีด้วยเช่นกัน ดังนั้นจงอย่าละเลยที่จะวางแผนการเงิน บริษัทอารยาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชายและหญิง จะได้รับความสุขในชีวิตคู่ และพื้นฐานการเงินที่เข็มแข็ง ท่านสามารถปรึกษา นักวางแผนการเงินตามหลักการศาสนาอิสลามองบริษัทอารยาได้โดยตรง