เปรียบเทียบ เหตุฟ้องหย่า กฏหมาย ทั่วไป – กฏหมายอิสลาม
ในปัจจุบัน พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล มุสลิมชายและ หญิงสามารถ แก้ปัญหาครอบครัว ด้วยกฏหมายอิสลามได้ โดยกฏหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรมดก(ฉบับศาลยุติธรรม) พ.ศ.2554 นั้นมีความเหมือนกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 5) ครอบครัว คือเป็นหลักกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี กฏหมายทั้งสองฉบับนี้มีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไรบ้างในเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อให้ สามารถพิจารณาภาพรวมได้ โดยข้อมูลต่อไปนี้ เป็นข้อมูลที่ สรุปโดยย่อจาก งานวิจัย หัวข้อ The Divorce Comparative Reasons in Case Study of Divoce and Ending Marriage Under The Civil and Comercial Code, 5th Family, with Islamic Family and Succession Legacy (Court of Justice editon) 2554,1th Family within The Multicultural Community ( May 15 2022)
เหตให้ฟ้องหย่า ที่เหมือนกัน ระหว่างกฏหมาย สองฉบับ
เหตุให้ฟ้องหย่า | แพ่งและพาณิชย์ | กฏหมายอิสลาม(ไทย) |
---|---|---|
เหตุความไม่พร้อมของสามี ภรรยาในการร่วมประเวณี | ✅มาตรา 1516(10) | ✅ ข้อ 148(1)ก |
เหตุฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวิกลจริต หรือ มีโรคติดต่อร้ายแรง | ✅มาตรา 1516(7) มาตรา 1516(9) | ✅ข้อ 148(1)ข |
เหตุฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหายสาบสูญ | ✅มาตรา 1516(5) | ✅ข้อ 148(3) |
เหตุให้ฟ้องหย่า ที่คล้ายกัน ระหว่าง กฏหมาย สองฉบับ
เหตุให้ฟ้องหย่า | แพ่งและพาณิชย์ | กฏหมายอิสลาม(ไทย) |
---|---|---|
เหตุไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูครอบครัว | ✅ สามี และ ภรรยา ต้องช่วยกัน ตาม มาตรา 1516(6) | ✅ เป็นหน้าที่ฝ่ายเดียวของ สามี ตามข้อ 148(1)ค |
เหตุให้ฟ้องหย่า ที่ต่างกัน ระหว่าง กฏหมาย สองฉบับ
เหตุให้ฟ้องหย่า | แพ่งและพาณิชย์ | กฏหมายอิสลาม(ไทย) |
---|---|---|
เหตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ประพฤติชั่ว อาญา และอื่นๆ | ✅มาตรา1516(2)ก | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุโดนดูถูกจากการมีคู่สมรสประพฤติชั่ว | ✅มาตรา1516(2)ข | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุเดือดร้อนเกินควรจากสถานะภาพความเป็นอยู่ | ✅มาตรา1516(2)ค | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อุปการะหรือยกย่องผุ้อื่นฉันสามีภรรยา | ✅มาตรา1516(1) | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทำร้าย ทรมาน ร่างกายหรือจิตใจ | ✅มาตรา1516(3) | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทำร้าย ทรมาน ร่างกายหรือจิตใจ บุพการี | ✅มาตรา1516(3) | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทิ้งร้างเกิน 1 ปี | ✅มาตรา1516(4) | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถูกพิพากษาจำคุก และถูกจำคุกเกินหนึ่งปี | ✅มาตรา1516(4/1) | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุทั้งสองฝ่ายสมัครใจแยกกันอยู่ เกิน 3 ปี | ✅มาตรา1516(4/2) | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
เหตุฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ผิดทัณฑ์บนที่ได้ทำไว้เป็นหนังสือ | ✅มาตรา1516(8) | ❌ไม่ได้บัญญัติชัดเจน |
ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างโดยย่อของกฏหมายทั้งสองฉบับ อย่างไรก็ดี ในขณะที่ทำการบันทึกนี้ เป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ ศ 2567 และเป็นการสรุปโดยย่อ ผู้ศึกษาและ ผู้นำไปใช้ควรตรวจสอบข้อมูลใดๆให้ครบถ้วนอีกครั้ง
ข้อสรุป จากความแตกต่างทางกฎหมายในเรื่องเหตุของการหย่าร้าง
เราจะเห็นได้ว่า เหตุของการหย่าร้างในกฏหมายทั้งสองฉบับนั้นมีส่วนที่ทั้งเหมือนกัน คล้ายกัน และ แตกต่างกัน การเข้าใจปัญหานี้มีความสำคัญในการวางแผนการจัดการ ป้องกันความขัดแย้งของครอบครัวมุสลิมไทยอย่างเป็นระบบ การวางแผนการนิกะห์ หรือการแต่งงานที่ดีโดยนำประเด็นความแตกต่างนี้เข้าไปผูกกับการทำข้อตกลงแต่งงาน จะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
แนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของบริษัทอารยา ในการแต่งงานอิสลาม
เพื่อแก้ปัญหานี้ ในเบื้องต้น ทางบริษัทอารยาได้วางแผนให้มีการ บันทึกนิกะห์ที่ ให้เกิดบันทึกข้อตกลงใกล้เคียงกันระหว่าง กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 5) ครอบครัว มากสุด โดยบริษัทได้วางพันธกิจไว้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ว่า ผู้ที่ทำการนิกะห์ หรือแต่งงานอิสลาม โดย วลีที่แต่งตั้งจากบริษัทอารยานั้น จะต้องได้รับความรู้ความเข้าใจที่สำคัญนี้ และ สร้างข้อตกลงที่เป็นธรรมต่อกัน และ เข้าใจตรงกัน เราเชื่อว่า ด้วยการพัฒนานี้จะช่วยลดปัญหา ความอธรรมในชีวิตคู่ เช่น การถูกทิ้งร้างจากสามี การถูกที่สามียกย่องหญิงอื่นเสมอภรรยาเป็นต้นได้มากที่สุด และ เราพัฒนาให้ส่วนนี้สามารถออกแบบได้ ผ่านการทำข้อตกลงร่วมกัน ก่อนแต่งงานกับบริษัทอารยา
0 Comments