เปิดตลาดมุสลิมอย่างไร?ให้ถูกวิธี ด้วย Muslim Sandbox Marketing
ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิม แต่ต้องการขยายตลาดมุสลิม โดยไม่กระทบพันธกิจเดิมขององค์กรโดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มบริการ เช่น Cafe โรงแรม ห้องจัดเลี้ยง สปา หรืออื่นๆ ที่ต้องการเปิดตลาดมุสลิใ แต่ผู้ประกอบการดไม่ใช่มุสลิม รวมทั้งไม่มีองค์ความรู้ จะเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดอย่างเป็นระบบได้อย่างไร Muslim Marketing Sandbox Strategies คือคำตอบครับ
ปัจจุบันตลาดมุสลิม หรือผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในประเทศไทย นั้น มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากในประเทศเอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเข้ามาของกลุ่มลูกค้าอาหรับ จีนมุสลิมจำนวนมาก ทำให้เป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการไทย ทั้งในและนอกตลาดมุสลิมจะ พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อรองรับตลาดกลุ่มนี้เพิ่มเติม
อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยข้อจำกัด และวิถีชีวิตของลูกค้ามุสลิมนั้นทำให้ การวางแผนดูแลลูกค้าให้เหมาะสมและตรงกลุ่มตลาดนั้น เป็นเรื่องที่ผุ้ประกอบการต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในขณะเดียวกันการวางแผนการตลาดนี้ต้องไม่กระทบ พ้ันธกิจองค์กรเดิม หรือ เปลี่ยนรูปแบบ จนสูญเสียตัวตนขององค์กรไป การวางแผน ให้ เพิ่มช่องทางการค้ากับ ตลาดมุสลิม ไปพร้อมๆกับการรักษาวัฒนธรรมองค์กรเดิมได้นั้น เช่นโรงแรมที่มีการเปิดจำหน่ายแอลกออฮอล์แต่ต้องการ รองรับตลาดมุสลิมเพิ่มอย่างสุจริต และให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้นับถือศาสนาอิสลาม สามารถทำได้อย่างเป็นระบบ ผ่านแนวคิด การตลาดเชิงพหุวัฒนธรรม ซึ่งกรอบการตลาดนี้ ทาง คุณ เยาฮาร แหละตี บริษัทอารยา นิกะห์ แพลเนอร์ จำกัด เป็นผู้พัฒนาขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ใน เพื่อรองรับ ลูกค้าที่มาจากการแต่งงานอิสลามในครอบครัวพหุวัฒนธรรม และ พัฒนา มาเป็น Muslim Marketing Sandbox Strategies โดย กรอบการทำงาน หรือ Framework นี้ เน้นการช่วยผู้ประกอบการ ปรับตัว เข้าสู่ตลาดมุสลิมในประเทศและต่างประเทศ โดยต้นทุนต่ำที่นสุด ลดข้อผิดพลาดท ซึี่งมีขั้นตอนตอนไปนี
Starter ก่อนเริ่มต้นต้องปรับความเข้าใจใหม่
การเรียนรู้และเข้าใจปัญหาที่มองไม่เห็นใหม่ทั้งหมด เป็นการปรับองค์กรให้มีความเข้าใจใหม่ที่ถูกต้อง เกี่ยวสถานะของ ผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น การเข้าใจผิดเกี่ยวกับความจำเป็นของ การขอตราฮาลาล ซึ่งบางผลิตภัณฑ์การขอตราฮาลาล อาจกระทำรูปแบบของการจัดการองค์กรได้ และไม่มีความจำเป็นขนาดนั้นเป้นต้น และอื่นๆ รวมถึงการตั้งคณะทำงานที่ชำนาญและให้เวลาอย่างเต็มที่กับโครงการ กระดุมเม็ดแรกที่ถูกนี้ จะนำไปสู่การจัดการที่ถูกต้อง
หลังจากตั้งคณะทำงานแล้วให้แบ่ง Phase การทำงานต่อไปนี้
Phase 1: Setup Sandbox
เป็นกระบวนการทำงานที่เริ่มต้นจากการพิจารณาตัวเองใหม่ทั้งหมด เป็นการ Setup ระบบต่างๆเช่น Mindset ของผู้ให้บริการ การเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการพหุวัฒนธรรมขององค์กร ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาอิสลามและลูกค้ามุสลิม (สามารถขยายไปถึง พุทธ เอทิสต คริสต์ หรืออื่นๆได้) การเข้าใจข้อจำกัดจริง ข้อจำกัดลวง หรืออื่นๆ การเรียนรู้ เกี่ยว วันสำคัญวิถีชีวิตของผู้เป็นมุสลิมหรือศาสนาอื่นๆ เพื่อให้ฝ่ายบริหาร สามารถวางแผนการตลาดได้เหมาะสม ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ในส่วนนี้จะรวมถึง ส่วนของการ ทำ Marketing Setup ผู้บริหารต้องกลับมาเซ็ตอัพระบบการตลาดใหม่ ให้สอดคล้องกับการสื่อสารเชิงพหุวัฒนธรรรม การปรับปรุง service สินค้า บริการ Packagke ต่างๆให้สอดคล้องกับ ตลาดพหุวัฒนธรรม และอื่นๆเป็นต้น การทำ Inbound Marketing อื่นๆ
Phase 2 : Build Thrust And Connection
ข้อผิดพลาดของหลายองค์กรคือ การข้ามขั้นตอนนี้ไปทำ Marketing ตลาดมุสลิมนั้น ต้องการ ความเชื่อถือ ความเชื่อใจสูงมาก และ ข้อผิดพลาดส่วนมากเช่น ผู้ประกอบการไปเข้าใจว่า การขอตราฮาลาลนั้นเพียงพอ ในกระบวนการรนี้เป็นกระบวนการ เริ่มทำ Branding และสื่อสารว่า องค์กรพร้อมเป็นพหุวัฒนธรรม โดยการเชื่อมโยงกับ ศาสนสถาน กลุ่มก้อน องค์กร ที่มีความเป็นมิตรในลักษณะเดียวกัน ข้อสำคัญของการเชื่อมโยงคือ สังคม มีความหลากหลาย มีทั้งน่ารัก และไม่น่ารัก การเชื่อมโยงกับองค์กรจำนวนมาก ไม่เท่ากับ การเชื่อมโยงกับองค์กรที่มีคุณภาพ เช่นการเชื่อมโยงกับ วัด โบสต์ สุเหร่า ที่ เปิดกว้างสำหรับสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ยังต้องพัฒนา กิจกรรมที่เป็น SoftBranding อีกจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้โครงสร้างส่วนนี้มีความเข้มแข็ง
Phase 3: Softmarketing
เป็นกระบวนการ ที่องค์กร ต้องเริ่มทำการตลาด ที่เน้นไปในเรื่องกลยุทธ์การสร้างแบนรด์ และทดลองการสื่อสาร แบบมีและไม่มีค่าใช้จ่ายสู่สังคม องค์กรต้อง มีเป้าหมาย หรือตัวชี้วัดมากขึ้น ใช้เครื่องการตลาดทั่วไป และ เลือกที่เหมาะสมกัีบตลาดที่แตกต่างกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยต้องเป็นแผนการตลาดที่ไม่ขัดแย้งกั้บ Phase 1-2 เน้นการทำ Branding , Brand Awarness การตลาดที่หวังผลในระยะเวลา 1 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้เพื่อปูพื้นฐานองค์กรให้เป็นที่รู้จักในตลาดใหม่ๆ
Phase 4:Power Marketing
กรณี Softmarketing ได้ผลที่ดี และ ผู้ประกอบการ รู้สึกว่าตลาดนี้เป็นตลาดที่ อาจจะคุ้มค่าการลงทุนแล้ว ให้ผู้บริหารจัดตั้งคณะทำงาน เพิ่มเติม และ ทำการตลาด เชิงรุกมากขึ้น และ ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เช่น กลุ่มธุรกิจงานแต่งงานอาจลงทุนกับการจัด Wedding Fair หรืออื่นๆ ที่ใช้โครงสร้างหรือ Facilities ต่างๆที่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น การลงทุนใน Ads หรืออื่นๆ หรือเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆที่ส่งผลดีต่อ แผนการตลาดระยะสั้น ยาวขององค์กร โดยต้องไม่ขัดกับ Phase ก่อนหน้า เน้นการขาย การทำตลาดในระยะเวลา 3-6 เดือน หรือน้อยกว่านั้น
Phase 5: Conclusion and Re-Thinking
หลังจากผ่านไป หนึ่งปี ที่ดำเนินการตามแผนงานให้ พิจารณแผนการดำเนินการตลาดระยะเวลา ดังกล่าว ความคุ้มค่าการลงทุน หรืออื่นๆ เพื่อพิจารณา ถ้า ที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับน้อยให้พิจารณาเรื่องการถอนตัว ถ้าพิจารณาแล้วว่ามีความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงสร้างโมเดลธุรกิจที่เข้มแข็งขึ้นให้พิจารณางบประมาณ เท่าเดิมหรือ เพิ่มขึ้น ตามแต่ละองค์กรแตกต่างกันไป
ข้อสรุป
ด้วยการดำเนินการตาม ทั้ง 5 Phase ตาม Frameworks จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ลดความเสี่ยงในการปรับองค์กรเข้าสู่ตลาดมุสลิมเร็วเกินไป หรือช้าเกินไปหรือผิดวิธี เ ป็นแนวคิด Sandbox ที่จะลดความเสียหายโดยรวมและ ให้ผู้ประกอบการเรียนรู้ตลาด และรู้จักตลาดไปพร้อมๆกัน รวมทั้งการสร้างองค์กรที่เป็นพหุวัฒนธรรม ไม่ให้น้ำหนักไปทางใดทางหนึ่งจนเกิดความอ่อนไหวหรือไม่สบายใจในองค์กรไปพร้อมๆกับเปิดตลาดใหม่ ที่เราสามารถรับรองได้นั่นเอง หวังว่า Frameworks ที่พัฒนาขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์กับ ผู้ดำเนินธุรกิจทุกท่านนะครับ
You must be logged in to post a comment.