HEADQUARTERS +66 089-110-941-9

ประวัติศาสตร์การแต่งงาน และ การมีภรรยา 4 คน

Published by Yaoharee Lahtee on

การแต่งงาน เป็นเรื่องโรแมนติก ระหว่าง ชายและหญิงที่มีความรักต่อกัน แต่ในความเป็นจริง มันมีเรื่องราว ยาวนานกว่านั้นมาก และ แท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นของการแต่งงาน ไม่ใช่ความรัก แต่เป็น การจัดการทรัพย์สิน การส่งต่อมรดกและครอบครัว เมื่อเราพูดถึงการแต่งงาน เรากำลังพูดถึงกฏหมายอย่างเลี่ยงไม่ได้

และการเข้าใจเรื่องนี้ นอกจากจะช่วยคุณเข้าใจ คอนเซปของการแต่งงานในปัจจุบัน และง่ายต่อการวางแผนชีวิตคู่แล้ว ยังนำไปสู่การเข้าใจ วัฒนธรรมของอิสลามด้วย

ในอารยธรรมโบราณ (Ancient) เป็นยุคที่ผู้หญิงถูกมองเป็นทรัพย์สิน การแต่งงานเป็นเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างเผ่า การรักษาความมั่นคงของเผ่า การแต่งงานในยุคนี้เป็นการแต่งงานแบบ ชายหนึ่งหญิงไม่จำกัด เป็นหลัก ศาสนาต่างๆในยุคนี้ (คริสต์ ยิว พุทธ อื่นๆ) ไม่มีการห้ามการแต่งงานโดยมีผู้หญิงมากกว่าหนึ่งคน ผู้ชายยังครอบครองนางบำเรอ และทาสได้ไม่จำกัด

ในยุคกลาง การแต่งงาน ในชนชั้นสูงมีขึ้น เพื่อเหตุผลทางการเมือง การส่งต่อและจัดการทรัพย์สมบัติ การเพิ่มที่ดิน และศักดิ์ การแต่งงานในยุคนี้เป็นการแต่งงานแบบ ชายหนึ่งหญิงไม่จำกัด เป็นหลัก ผู้ชายยังครอบครองนางบำเรอ และทาสได้ไม่จำกัด

ในศตวรรษที่ 4 นักบวช และโบสต์คริสต์ในโรมันเริ่มมีการพูดถึงการแต่งงานชายหนึ่งหญิงหนึ่ง เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น พัฒนาขั้นตอนต่างๆของการแต่งงานมากขึ้น แต่สังคมโดยรวมยังเป็น การแต่งงานแบบมี ภรรยาหลายคน มีนางบำเรอ และทาสหญิงตามปกติ และการหย่าไม่ถูกยอมรับด้วยเหตุผลทัง้ปวง

ในพื้นที่ยุโรป และ ในพื้นที่อาหรับ โรม เปอร์เซียน ยุคก่อนศาสนาอิสลาม เป็นยุคฟรีเซ็กซ์โดยสมบูรณ์ การแต่งงานเป็นแบบชายหนึ่งหญิงไม่จำกัด ผู้ชายมีความสัมพันธ์กับทาสได้โดยไม่ต้องแต่งงาน และ ชายหนึ่งคน มีภรรยาได้หลายคน , มีนางบำเรอ และทาสหญิงได้หลายคน เกิดปัญหา เด็กกำพร้า ปัญหาสังคมมากมาย

ในศตวรรษที่ 7 เป็นยุคเผยแพร่อิสลามในอาหรับ อิสลามบังคับให้ผู้ชายในยุคนั้น มีภรรยาได้ ไม่เกิน 4 คน, โดยกำกับว่าถ้ารักษาความยุติธรรมและความเท่าเทียมไม่ได้ ให้มีคนเดียวเท่านั้นและถ้ายังกำหนัดจนควบคุมตัวเองไม่ได้ ก็ให้ละหมาด และถือศีลอด , อีกทั้งยังบังคับว่า กรณีมีสัมพันธ์กับทาส ต้องผ่านการแต่งงาน ทำให้อาหรับในยุคนั้นมีจำนวนทาสลดลงจากการแต่งงาน นอกจากนี้อิสลามยังทำลายระบบนางบำเรอ -เกิดการปฏิวัติสถานะครอบครัวขนาดใหญ่ในโลกอาหรับ และขยายออกไป ยังอาณาจักรโดยรอบ, การวางระบบครอบครัว ทำให้สังคมเป็นปึกแผ่น

ที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงอาหรับในยุคนี้ได้รับสิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน , สิทธิในการหย่ากรณีพบว่าชีวิตแต่งงานไม่มีความสุข(ซึ่งผู้หญิงในยุโรปได้รับในอีก 1,300 ปีให้หลัง) สิทธิในการถือครองธุรกิจ และเลือกการแต่งงานใหม่ ในขณะช่วงเวลาเดียวกันนั้นที่ยุโรป ผู้หญิงยังถูกนับเป็นทรัพย์สินและมีสิทธิน้อยมากในการดำเนินชีวิต เช่นไม่สามารถถือครองทรัพย์สินหรือ มีธุรกิจได้ ไม่สามารถมีการศึกษา และการหย่าเป็นเรื่องต้องห้าม

อยางไรก็ดี ทั้งอาหรับและยุโรป ผู้หญิง ยังไม่สามารถเข้าสู่การเมือง และอำนาจรัฐได้ เป็นยุคเฟื่องฟูสั้นๆก่อนค่อยๆเสื่อมลง หลังจากการจากไปของศาสดา ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ไม่มีเป็นที่ปรากฏในวัฒนธรรมอื่นๆของโลกในเวลาเดียวกัน

ศควรรษที่ 13(600 ปีต่อมา) สมัยสุโขทัยเริ่มมีกฏหมายเกี่ยวกับการแต่งงาน แต่เป็นการพูดถึงครอบครัว อำนาจของบิดา ผู้หญิงไม่มีบทบาทในครอบครัวหรือสังคม ไม่มีการแบ่งทรัพย์สิน มีแต่ตกทอดให้บุตร

ศตวรรษที่ 14 อยุธยาเริ่มมีกฏหมายสามีภรรยา ,โดยสามีมีภรรยาหลายคนได้ แต่ ภรรยามีสามีหลายคนไม่ได้

ในศตวรรษที่ 15 โบสต์คริสต์ของ โปแตสแตนท์ เริ่มขับเคลื่อน แนวคิดการแต่งงานชายหนึ่งหญิงหนึ่งอีกครั้ง และเริ่มมีการพูดถึงสิทธิของผู้หญิงมากขึ้นในยุโรป แต่ยังยึดมั่นเรื่องการหย่าและภาพรวมผู้หญิงยังเป็นทรัพย์สิน ถือครองธุรกิจไม่ได้

ในศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดชนชั้นกลางขึ้นเป็นจำนวนมาก ผู้หญิงเข้าสู่ภาคแรงงาน เป็นยุคที่เกิด concept ของการแต่งงานใหม่ ที่เรียกว่า “Romantic Love” ผุ้คนในยุคนี้เริ่มแต่งงาน “เพราะความรัก” มากกว่าเหตุผลด้านการเงินและการเมือง เป็นยุคแรกที่ผู้หญิง ยุโรป เริ่มมีสิทธิถือครองทรัพย์สิน ธุรกิจ และจัดการร่างกายของตัวเองได้ทั้งหมด เป็นยุคที่การแต่งงานแบบชายหนึ่งหญิงหนึ่งเริ่มเป็นกฏหมาย ในยุคนี้ ขณะนั้น ประเทศไทยยังเป็นระบบชายหนึ่งหญิงไม่จำกัด มีระบบทาส ได้มีการนำแนวคิด ชายหนึ่งหญิงหนึ่งเข้ามาในหมู่ชนชั้นสูงของประเทศไทย แต่โดนโต้กลับด้วยอ้างแนวคิดทางพุทธศาสนา

ในศตวรรษที่ 20 การแต่งงานโดยรวมมีการพัฒนาขึ้น ผู้หญิงเรียกร้องสิทธิทางครอบครัวมากขึ้นโดยเฉพาะ การหย่า เพื่อ เรียกแก้ไข การแต่งงานที่ไม่มีความสุข ประเทศไทยเริ่มยอมรับเรื่องนี้ในปี คศ 1932 (2475 ประเทศไทยรับแนวคิดการแต่งงานแบบชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ผ่านการปฏิรูปการปกครอง) หรือ ประเทศไทย เป็นประเทศชายหนึ่งหญิงหนึ่งโดยถูกบังคับให้รับเอาวัฒนธรรมใหม่ ไม่ใช่วัฒนธรรมเดิมตามศีลธรรมอันดีของสังคมไทย

ในศตรวรรษนี้ ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมจำนวนมากออกกฎหมายที่จำกัด การแต่งงานภรรยาหลายคน ทำให้การแต่งงานภรรยาหลายคนเป็นเรื่องผิดกฎหมายหรือต้องได้รับอนุญาตจากศาล หลักปฏิบัติของการมีภรรยาหลายคนมีหลากหลาย และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหลายๆ ประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้นำศาสนาและนักวิชาการบางคนเรียกร้องให้มีการปฏิบัติต่อไป และคนอื่นๆ เรียกร้องให้เลิกใช้

ในศตรวรรศที่ 22 การแต่งงานแบบชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ถูกยอมรับเป็นเรื่องปกติของสังคมโดยทั่วไป


Yaoharee Lahtee

Yaoharee Lahtee

ผู้ก่อตั้ง อารยานิกะห์ ฯ วิสาหกิจเพื่อสังคม ฮับของการแต่งงานอิสลามระหว่างประเทศ สร้างพื้นที่ปลอดภัย เติมเต็มทุกความสัมพันธ์ ของครอบครัวมุสลิม ด้วยความเข้าใจและยุติธรรม เพราะการเริ่มต้นที่ดี สร้างชีวิตที่ยั่งยืน

0 Comments

ใส่ความเห็น

Avatar placeholder