Multicutural Travel Destination & Muslim Travel พหุวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวตลาดมุสลิมในประเทศไทย
จากข้อมูล Mastercard ยืนยันว่า จำนวนนักท่องเที่ยวมุสลิมที่มีศักยภาพ จะมีเพิ่มขึ้น อย่างมาก ถึง 230 ล้านคน ในปี 2028 หรืออีก 4 ปี และนักท่องเที่ยวเหล่านี้ กระจายตัวท่องเที่ยวทั่วโลก ทาง Mastercard จึงได้จัดทำ GMTI เพื่อเป็นตัวชี้วัด และ ให้คะแนน สำหรับประเทศที่มีพัฒนาการที่ดีในการรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิม เพื่อสนับสนุนให้ นักท่องเที่ยวไปพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น และได้รับความสะดวกสบายในกิจกรรมทางวัฒนธรรมทางศาสนา เช่น อาหารฮาลาล และ การละหมาด
สำหรับประเทศไทย นักท่องเที่ยวไตรมาสแรก ในปี 2567 มีจำนวนเพิ่มขึ้น จาก 8 ล้าน คน เป็น 12 ล้านคน ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก (จำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวมุสลิม 2.2 ล้านคน) ประเทศไทย ถูก Mastercard จัดว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่จะดึงดูดลูกค้ามุสลิมจากทั่วโลกได้อีกจำนวนมาก แม้ตลอดสามปีที่ผ่านมา อันดับคะแนนเราจะตกลงทุกปีจาก อันดับ 2 ลงมาที่อันดับ 5 ของประเทศในกลุ่ม Non OIC ไม่ใช่เพราะเราด้อยลง แต่เป็นเพราะประเทศเพื่อนบ้าน เช่นไต้หวัน ฮ่องกง ทำได้ดีกว่า และ มีประเทศอื่นๆไล่ตามมาติดๆเช่น เสปน ญี่ปุ่นเป็นต้น หลายประเทศต่างเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับตลาดนี้ แสดงให้เห็นว่ามีความให้ความสำคัญของตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ความต้องการของลูกค้ามุสลิมตาม ตัวชี้วัด ใน GMTI นั้นมีความจำเพาะเจาะจง เฉพาะเช่น มีความต้องการห้องละหมาด ครัวฮาลาล หรือ ที่พักฮาลาล เป็นต้น ในขณะที่ประเทศไทยนั้นมีผู้ประกอบการที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอิสลามน้อย และ ผู้ประกอบการก็ยังมีข้อกังวลหลายอย่าง ทั้งการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทีอาจกระทบบริหารองค์กร รวมทั้ง อาจเป็นการสูญเสียตลาดเดิมเช่น การเปลี่ยนโรงแรมเป็นฮาลาล อาจจะทำให้ผู้ประกอบการเสียตลาดลูกค้าเดิมที่ดื่มแอลกอฮอล์ และ เป็นการเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยไม่มีอะไรรับประกัน ความกังวลนี้ ทำให้ ผู้ประกอบการไม่มีแผนชัดเจน ในการรับลูกค้ากลุ่มนี้ หรือ พัฒนาตาม GMTI
แม้ตลาดมุสลิมเป็นตลาดที่มีศักยภาพ แต่การโฟกัสที่ segment เดียว อาจไม่เหมาะกับบริบทของประเทศไทย ที่มีผู้ประกอบการมุสลิมเป็นส่วนน้อย และเดิมประเทศไทยเองเป็นจุดหมายปลายทางของ หลากวัฒนธรรมศาสนา ในประเด็นนี้ คุณ เยาฮารี แหละตี ผู้อำนวยการกลุ่มผุ้ประกอบการ พัฒนาการแต่งงานอิสลาม ในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม Multicultural Islamic Wedding Entrepreneurs Group (MIWEG) ได้เล่าเพิ่มเติมว่า
“การแบ่ง segment นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการยังต้องทุ่มเทเวลาให้กับ ความเข้าใจลูกค้ามุสลิมที่อาจมาเป็นลูกค้าของคุณว่ามีความต้องการอะไร ในขณะเดียวกัน ถ้ามีความกังวลถึงการปรับตัว และมีต้นทุนการปรับเปลี่ยนที่สูงและไม่แน่นอน ก็สามารถหยิบบางส่วนที่สามารถพัฒนาร่วมกันและทำให้เกิดประโยชน์กับลูกค้ากลุ่มอื่นๆได้ เช่น ใน GMTI ปี 2024 ให้ความสำคัญกับลูกค้ามุสลิมผู้หญิงว่าเพิ่มจำนวนมากขึ้นและ มีส่วนในการตัดสินใจมากขึ้น นักท่องเที่ยวมุสลิมหญิงเหล่า มีความต้องการเหมือนนักท่องเที่ยวหญิงทั่วไปคือ คือความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นสัดส่วนคะแนนที่สูงมาก ถ้าผู้ประกอบการ หรือ ประเทศไทย ทุ่มเทกับเรื่องเหล่านี้ก่อน ก็จะตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้และกลุ่มอื่นๆไปพร้อมๆกัน โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงองค์กรแต่อย่างใด ”
นอกจากนี้ คุณเยาฮารี แหละตี ยังกล่าวเพิ่มเติมในประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมว่า
“ประเทศไทย เป็นประเทศที่เปิดรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม สิ่งที่เราควรไปให้ถึงคือ การพัฒนาประเทศที่ตอบรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมศาสนา ให้คนที่อยากมาเที่ยววัด ขอพรได้เที่ยววัดขอพร ให้คนอยากทานอาหารฮาลาล ได้ทาน ให้คนอยากทานหมูกรอบได้ทานหมูกรอบ ให้คนอยากละหมาดได้ละหมาดเช่น คนมุสลิม นิยมมาเที่ยววัดพระแก้ว ได้มาเรียนรู้วัฒนธรรม และศาสนาพุทธ ได้เรียนรู้คำสอนของพุทธศาสนาถ้ามีห้องละหมาดอยู่ไม่ไกลมาก และ มีร้านอาหารฮาลาลให้เข้าถึง เราก็จะได้ตลาดกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ในขณะที่เราสามารถพาคนที่ไม่ใช่มุสลิม เยี่ยม สุเหร่าที่มีประวัติยาวนานทางประวัติศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ เช่น มัสยิดฮารูน ที่เป็นฝังศพของทหารมุสลิมไทยที่ช่วยรบในสงครามเกาหลีได้เป็นต้น ซึ่งเป็นสถานที่ดังกล่าวปัจจุบัน ทางเกาหลีจะแวะมาเยี่ยมเยียนแสดงความเคารพศพทุกปี “
Multicutural Travel Destination เป็นแนวคิดที่องค์กรเอกชน ร่วมกันพัฒนาให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างไรก็ดี แนวคิดนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องสร้างการบรรยากาศที่ ไม่ตัดสินกันและกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเรียนรู้วิถีชีวิตซึ่งกันและกัน และการเรียนรู้ของผู้ประกอบการต่อวัฒนธรรมอื่นๆ รวมทั้งวิถีชีวิตและศาสนาอิสลาม เป็นหนึ่งในคำแนะนำของรายงาน GMTI ที่เขียนถึงประเทศไทยว่าเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆเช่นกัน การดูแลลูกค้ามุสลิมเป็นเพียงบันไดขั้นแรก ที่จะไปสู่ Multicutural Travel Destination
คุณเยาฮารี กล่าวปิดท้ายเพิ่มเติมในเรื่อง Multicutural Travel Destination ว่า
“ผู้ประกอบการคือผู้อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า การมี Cultural Sensivity เป็นสำคัญ เช่น ไม่ตัดสินลูกค้า ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในบรรยากาศที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยและต่อรองได้ทางวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันต้องรักษาความสุจริตเสมอ เรื่องวัฒนธรรมศาสนา จะขาดความสุจริตใจไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เราไม่สุจริตใจ เหมือนเอา อาหารไม่เจ ให้คนทานเจ เราจะเสียเค้าไปตลอดกาล ไม่มีเรื่องใดเล็กในเรื่องทางวัฒนธรรม ถ้าเค้าให้ความสำคัญเราต้องให้ความสำคัญ ให้ตระหนักเสมอว่าเค้าไว้ใจเรา จึงมาใช้เวลาอยู่กับเรา ผู้ฏิบัติหน้าที่จนถึงผุ้บริหาร ต้องเข้าใจเรื่องนี้ตรงกัน”
การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในรายได้หลักของประเทศไทย และ แนวคิดเหล่านี้
จะเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทย และ จะเริ่มต้นขึ้นได้ ถ้า ทุกคนร่วมกันเดินไปพร้อมๆกัน
0 Comments