นิกะห์ อายุเท่าไหร่ สอดคล้องกับกฏหมายประเทศไทย
อายุการแต่งงานอิสลาม และ การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยอาจแตกต่างกันเล็กน้อย อย่างไรก็ดี อายุเท่าไหร่ จะสามารถทั้งทำการนิกะห์ และ จดทะเบียนสมรสได้โดย สอดคล้อง และไม่ขัดต่อกฏหมายประเทศไทย เรามาทำความเข้าใจข้อกฏหมาย เกี่ยวกับช่วงอายุการแต่งงานตามกฏหมายประเทศไทยเพิ่มเติมตามตารางต่อไปนี้
ตารางแสดง ช่วงอายุ ที่คู่สมรส อยู่ใน อำนาจ ศาลและผู้ปกครอง
ช่วงอายุ | การอนุญาตจากศาล | การอนุญาตจากผู้ปกครอง |
---|---|---|
ต่ำกว่า 15 ปี | ศาลต้องอนุญาติเท่านั้น | ผู้ปกครองไม่มีสิทธิอนุญาติ |
15-17 ปี | ศาลต้องอนุญาติเท่านั้น | ผู้ปกครองร่วมอนุญาติ |
18-19 ปี | ไม่ต้องขออนุญาติ | ผู้ปกครองต้องอนุญาติ |
20 ปีขึ้นไป | ไม่ต้องขออนุญาติ | ไม่ต้องขออนุญาติ |
คำอธิบายเพิ่มเติม
1. การอนุญาตจากศาล:
- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องได้รับอนุญาตจากศาล ในกรณีต้องการจดทะเบียนสมรส โดยต้องมีเหตุผลอันสมควร เช่น การตั้งครรภ์
- การอนุญาตจากศาลเป็นขั้นตอนบังคับ แม้ผู้ปกครองจะยินยอมแล้วก็ตาม หากอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. การอนุญาตจากผู้ปกครอง:
- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เป็นลายลักษณ์อักษร
- หากไม่มีความยินยอมจากผู้ปกครอง ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีต้องขออนุญาตจากศาลแทน
3. ข้อยกเว้นสำหรับการสมรส:
- บุคคลที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะถือว่า บรรลุนิติภาวะทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 20
บริษัทอารยา นิกะห์ให้กับ ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยกรณีอายุ อยู่ในช่วง 18-19 ปี สามารถจัดนิกะห์ให้ได้โดยมีข้อแม้ว่า จะต้องมีผู้ปกครอง(ตามกฏฆมาย)เข้าร่วม ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น สอบถามรายละเอียดการนิกะห์เพิ่มเติมได้ที่บริษัทอารยนิกะห์ วิสาหกิจเพื่อสังคม
0 Comments