HEADQUARTERS +66 089-110-941-9

เจตนารมณ์ การจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม

1.ปัญหาทางสังคม 

1.1  การแต่งงานที่ไม่สุจริตและการค้ามนุษย์

ตามรายงานของ UNODC  ประเทศไทยกำลังประสบปัญหา การค้ามนุษย์ ผ่านการแต่งงานระหว่างประเทศ การค้ามนุษย์ มักเชื่อมโยงกับการแต่งงานที่มีลักษณะ การบังคับ การละเมิด หรือการแสวงหาผลประโยชน์ เหยื่อ ซึ่งมักจะเป็นผู้หญิงและเด็ก ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยากจน ว่างงาน ถูกหลอกลวงให้เชื่อว่าพวกเขากำลังจะแต่งงานกับคู่ครองที่มีความปรารถนาดี  แต่แท้จริงแล้วพวกเขาถูกนำไปใช้เป็นแรงงานบังคับ  หรือ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ ผู้หญิงจากภูมิภาคที่ยากจนถูกล่อลวงให้แต่งงานกับชาวต่างชาติภายใต้คำสัญญาว่าพวกเขาจะมีชีวิตที่ดีขึ้นในต่างประเทศ แต่เมื่อมาถึงประเทศของสามี พวกเธอกลับถูกแสวงหาผลประโยชน์และไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานใดๆ

ความสัมพันธ์ ระหว่าง การแต่งงาน และการค้ามนุษย์ เป็นหัวข้อที่ซับซ้อนเป็นพิเศษ เนื่องจากมีปัจจัยทางวัฒนธรรม ศาสนา และเศรษฐกิจที่ฝังลึกเกี่ยวกับสถาบันการแต่งงาน  เช่น กรณี กรณีเด็กหญิงมุสลิมวัย 11 ปีในนราธิวาสแต่งงานเป็นภรรยาคนที่สามกับชายชาวมาเลเซียวัย 41 ปี   ทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ในมาเลเซีย และ ภาครัฐ และ ภาคศาสนาประเทศไทยต้องเข้าไปแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้น  เนื่องจากผิดต่อกฎหมายไทย และกฎหมายของประเทศมาเลเซีย แต่เกิดขึ้นจากการใช้ช่องว่างทางกฏหมาย ประเทศไทย

การแต่งงานในวัยต่ำกว่าเกณฑ์ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในพื้นที่สามจังหวัด มีรายงานว่าจังหวัดนราธิวาสในปีเดียว มีเด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์คลอดบุตรในโรงพยาบาลถึง 1,100 คน ในรายงานดังกล่าวมีการกล่าวถึงการถูกบังคับให้แต่งงาน นอกจากนี้ ในรายงานยังสะท้อนถึงการข้ามประเทศมาเพื่อแต่งงานกับหญิงคนไทย ในรายงาน ของ The Guardian โมฮัมหมัด ลาซิม เล่าว่า ดำเนินธุรกิจดังกล่าว โดยช่วยจัดเตรียมงานแต่งงานข้ามพรมแดนให้กับชายชาวมาเลเซีย เขาทำงานกับเจ้าบ่าวมากกว่า 50 คนต่อปี โดยส่วนใหญ่ต้องการภรรยาคนที่สองหรือสาม , ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นจำนวนมากในประเทศไทย เราไม่มีทางรู้เลยว่า เป็นการแต่งงานเพื่อแสวงหาประโยชน์ต่อหญิงไทยหรือไม่อย่างไร? และ คู่ไหนบ้างที่อยู่ในกลุ่มที่เป็นการค้ามนุษย์? เนื่องจาก ปัจจุบันไม่ได้มีระบบตรวจสอบดังกล่าว ที่จะรับมือกับปัญหาลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงานชั่วคราวหรือการแต่งงานเพื่อแสวงหาประโยชน์หรือ การค้ามนุษย์



อามัล ลาเต๊ะ ถ่ายรูปพร้อมกับลูกชายของเธอ มูซิน เธอถูกบังคับให้แต่งงานกับญาติที่อายุมากกว่าเธอถึงสิบปี ขณะที่เธอมีอายุเพียง 15 ปี, ประเทศไทย , theguardian.com :2018

1.2 การแต่งงานที่สุจริต การหย่าร้าง และความรุนแรง 


การแต่งงานระหว่างประเทศ หรือ รวมทั้งข้ามวัฒนธรรมศาสนาในประเทศไทยนั้น ก็อาจเป็นการแต่งงานที่สุจริตได้เช่นกัน  อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นการแต่งงานที่สุจริต กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่มีปัญหาต่างกันที่ต้องพิจารณาในกรอบคุณภาพชีวิตของครอบครัวและบุตร เช่นปัญหา การตื่นตระหนกทางวัฒนธรรม การขาดการวางแผนครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว ตลอดจน การหย่าร้างที่มีความรุนแรง 


สถิติการจดทะเบียนและ หย่าร้างปี พ.ศ. 2560-2565 พบว่าอัตราหย่าร้างอยู่ที่ 47.8% หรือ สิบคนจะมี 5 คนที่หย่าร้าง สำหรับครอบครัวมุสลิมนั้น แม้จะมีอัตราการหย่าร้างที่ต่ำกว่า  อย่างไรก็ดี ตามรายงานของสำนักข่าวอิศรา พบว่า คดีฟ้องหย่าเฉพาะปัตตานีจังหวัดเดียวในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งสิ้น รวม 3,109 คดี  ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยิ่งยุ่งยากขึ้น ถ้าฝ่ายหญิงไม่มีความรู้ หรือความเข้าใจ การหย่าร้างตามหลักการศาสนาอิสลาม และ กรอบกฏหมายที่มีความแตกต่างกันในประเทศไทย รวมทั้งต่างประเทศ เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา ตลอดจนสัญชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากให้กับฝ่ายหญิง โดยเฉพาะ กรณีที่มีบุตร ที่จะนำไปสู่ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของเด็กในครอบครัวที่หย่าร้างมากขึ้น มีรายงานว่า พบปัญหาเกี่ยวกับเด็กในครอบครัวที่หย่าร้างจำนวนมากในพื้นที่สามจังหวัด นอกจากนี้เด็กในครอบครัวหย่าร้างยังเผชิญกับปัญหาทางจิตใจ สังคม และการพัฒนาตนเองในระยะยาว

การเลือกคู่ครองอย่างเหมาะสม และการมีความรู้ ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น เพื่อให้ฝ่ายหญิงตระหนักกว่า ในการระบบการหย่าร้างทางศาสนาในประเทศไทยนั้น มีช่องว่างและตามหลังประเทสมุสลิมอื่นๆ เช่น ฝ่ายชายได้รับสิทธิในการหย่า โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากฝ่ายหญิง แม้หลายภาคส่วนจะพยายามช่วยกันแก้ไขเรื่องนี้ให้ฝ่ายชายตระหนักถึงความรับผิดชอบตามหลักศาสนา แต่ทำได้เพียงให้คำแนะนำ ซึ่งต่างจากประเทศมุสลิมอื่นๆ ที่ มีกฎหมายบังคับให้ฝ่ายชายที่ต้องการหย่าเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย และ รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ปัญหาลักษณะนี้ประเทศไทยไม่่สามารถปรับได้โดยเร็ว และ ผู้หญิงจะได้รับผลกระทบอีกมาก  การให้ความรู้ และการวางแผนครบอครัว จึงยิ่งทวีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์การแต่งงานเหล่านี้



2.ขอบเขตปัญหาจำกัดแค่มุสลิมหรือไม่?

ปัญหานี้ การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม นี้ไม่ได้จำกัดความเสียหายเฉพาะพื้นที่สามจังหวัดหรือสังคมมุสลิม กรณีตัวอย่างเช่น ข่าว กระบวนขบวนการค้ามนุษย์ ใช้การแต่งงานแบบ บังหน้าส่งหญิงสาวคริสเตียนปากีสถานไปเป็นทาสทางเพศในจีน โดยมีเหยื่อมากกว่า 700 คน ซึ่งสะท้อนว่าปัญหานี้เกิดขึ้นหลายกภูมิภาคทั่วโลก แตกต่างกันไปแต่ละวัฒนธรรม โดยเฉพาะกับผู้หญิง และเด็กในสังคมที่ยากจน และขาดโอกาส


อีกทั้ง การแต่งงานข้ามประเทศ ต่างวัฒนธรรมมีจำนวนมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง ในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบัน ตามรายงานของ Global Muslim Travel Index 2024 โครงการ DEFA (ASEAN Digital Economy Framework Agreement) และ สถิติจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาปี 2567 ต่างสะท้อนตรงกันว่า ประเทศไทยจะเป็นปลายทางของ มุสลิมจากทั่วโลกและอาเซียนจำนวนมากในปีถัดๆไป  ในการเดินทางท่องเที่ยวนี้ ทำให้เกิดการแต่งงานระหว่างประเทศและข้ามวัฒนธรรมศาสนา การให้ความรู้กับผู้หญิงและครอบครัวฝ่ายหญิง และการจัดการที่เป็นระบบ ด้านการให้คำปรึกษา การแนะนำข้อกฏหมาย การอบรมต่างๆล้วนเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเข้าสู่การแต่งงานที่ไม่สุจริตได้ ปัญหานี้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของคนมุสลิมแต่กำเนิดหรือ ปัญหาของพื้นที่ชายแดนใต้เท่านั้น  ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ ที่กระทบต่อ ผู้หญิงและเด็กไทยทุกศาสนา  


ภาพการกระจายตัวของปัญหา Modern Slave ซึ่งรวมการบังคับ หรือแสวงประโยชน์จากการแต่งงาน


3 เจตนารมณ์ การจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม 

แม้จะเป็นประเด็นสำคัญด้านการค้ามนุษย์ เด็ก และสตรี ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่  อย่างไรก็ดี ปัญหานี้ ไม่ใช่เป็นปัญหาเพียงเฉพาะของภาครัฐ หรือ ภาคการศาสนาเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจาก งานวิจัย ของ UNODC พบว่าองค์กรพัฒนาเอกชนมีข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งงานที่บังคับ การละเมิด และการแสวงหาผลประโยชน์มากกว่าหน่วยงานด้านความยุติธรรมทางอาญา ท้ายที่สุด มีเพียงส่วนน้อยของกรณีเหล่านี้เท่านั้นที่ถูกแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เด็กผู้หญิงมักพบว่าการขอความช่วยเหลือและการเปิดเผยประสบการณ์ต่อเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องยากเนื่องจากความกลัว การตีตราทางสังคม และความอับอาย ด้วยประสบการณ์ที่เรามีทั้งหมดเราจึงมั่นใจว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือประเด็นทางสังคมและสร้างผลกระทบที่เป็นบวกในปัญหาเหล่านีได้

เนื่องด้วยตลอดการเข้าสู่อุตสาหกรรมแต่งงานตั่งแต่ปี 2008 จนถึงปัจจุบัน บริษัทอารยานิกะห์ ได้รับความไว้วางใจจาก ครอบครัวที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมทางศาสนา ทั้งภายในและต่างประเทศ มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้เราเข้าถึงข้อมูล รับรู้ถึงเห็นปัญหา และ พัฒนา ระบบต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาปัญหาทางสังคมนี้ได้เป็นวงกว้าง  โดยเราได้วางพันธกิจไว้ดังต่อไปนี้ (หมายเหต นิกะห์ คือการแต่งงานอิสลาม)

ภาพบรรยากาศงานแต่งงานอิสลามที่ให้เกียรติเครือญาติทุกศาสนา จัดโดยบริษัทอารยานิกะห์ ประเทศไทย


– สร้างเครือข่ายระดับโลกเพื่อส่งเสริมการบริการนิกะห์ที่สุจริต  ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงและเด็ก เป็นมิตรกับพหุวัฒนธรรม พร้อมพัฒนาคู่มือปฏิบัติที่ครอบคลุมและวัดผลได้

สร้างเครือข่ายระดับโลกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และวางแผนครอบครัวสำหรับคู่สมรสชาวมุสลิม หรือมุสลิมใหม่ เพื่อลดความขัดแย้งที่รุนแรงที่มีผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็ก 

ส่งเสริมศักยภาพสูงสุดของ ของครอบครัว  พร้อมพัฒนาคู่มือปฏิบัติที่ครอบคลุมและวัดผลได้

– สร้างเครือข่ายระดับโลกเพื่อส่งเสริมการสร้างบริการและสินค้าที่สนับสนุนให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมในบรรยากาศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน 


นำงานวิจัยทางสังคมประสานการทำงานจริง โดยเฉพาะที่ เกี่ยวกับผู้หญิงและเด็ก งานด้าน สันติวิธี พหุวัฒนธรรม ครอบครัว ต่างๆมาเชื่อมเข้ากับสังคมไทยให้มากที่สุดผ่านการจัดการ สินค้าและบริการที่เป็นระบบและพัฒนาพันธกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป

สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องครอบครัว จัดทำเว็บไซต์ หรือ Application ที่ส่งเสริมให้ ผู้หญิงและเด็ก รวมทั้งผู้ชายที่ได้รับความไม่เป็นธรรมในชีวิตมีพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องครอบครัว หรือ ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องครอบครัว

และ เพื่อให้เป้าหมายของเราสำเร็จ  เราได้ประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรเป็น วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่เป็นทางการและได้รับการยอมรับ เพื่อมุ่งเน้นการดูแล กลุ่มผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในประเทศไทยทุกศาสนา รวมทั้งผู้หญิงชาวต่างชาติที่แต่งงานในประเทศไทย ให้ปลอดภัยจากความรุนแรงทางร่างกายและจิตใจ เมื่อเข้าสู่กระบวนการแต่งงาน รวมทั้งให้ความรู้ และเผยแพร่ข้อมูลทางสาธารณะเพื่อลดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อของการแต่งงานที่ไม่สุจริต การค้ามนุษย์ หรือการแสวาหาประโยชน์ในประเทศไทย และส่งเสริมให้ ชายมุสลิม ทั้งไทยและต่างประเทศ เรียนรู้ หน้าที่ ที่พึงมีต่อสตรีและบุตร เมื่อเริ่มต้นครอบครัว ผ่าน กิจการรมการอบรม ให้ความรู้ จัดสัมนา จัดนำหน่ายหนังสือ วางแผนครอบครัว วางแผนการแต่งงาน จัดงานแต่งงาน ให้คำปรึกษาส่วนบุคคลหรือ รายกลุ่ม  โดยเริ่มจากการแต่งงานอิสลาม และขยับขยายต่อไปใน การแต่งงานทุกๆศาสนา

  เราได้พัฒนาเครื่องมือต่างๆพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ผ่านนวัตกรรมทางสังคมด้านการบริการ  และ เริ่มทำงานจริง ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งเป็นบริษัทในปี คศ 2022 เช่น

  • กรอบการทำงาน จริยธรรมการทำงานต่างๆสำหรับ การดูแลงานแต่งระหว่างประเทศ เช่น Nikah Guardian Thailand 
  • บริการจัดงานแต่งงานที่เป็นมาตราฐานป้องกันการใช้ช่องโหว่ทางกฏหมาย
  • การอบรมก่อนแต่งงาน สำหรับคู่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมศาสนา
  • การอบรมก่อนแต่งงาน แบบกลุ่มสำหรับ มุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดและอื่นๆ
  • หนังสือ ด้านการวางแผนและบริหารครอบครัวมุสลิม ในสังคมพหุวัฒนธรรม
  • สื่อการเรียนการสอน มุ่งเน้นการวางแผนครอบครัวและเข้าใจความเสี่ยง
  • เวิร์กชอบ การจัดการแต่งงานที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ให้กับครอบครัว
  • สื่อ ออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ อื่นๆ

และ เรามีแผนขยับขยายต่อไป ในการเรียนการสอนทุกศาสนา หรือไม่มีศาสนาในประเทศไทย เพื่อให้การแต่งงานข้ามประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตามความเชื่อหรือศาสนาไหนนั้น เพื่อ ผู้หญิงและเด็ก ไทย ปลอดภัยจาก การแต่งงานที่ไม่สุจริต ตามจุดมุ่งหมาย และเจตนารมณ์ของเรา


4.รายละเอียดวัตถุประสงค์ทางสังคม


SDG 5: ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality)

⦿ เป้าหมาย 5.1: ขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อสตรีและเด็กหญิง

บริษัท อารยา นิกะห์ แพลนเนอร์ มุ่งมั่นที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีผ่านการให้ความรู้ การอบรมก่อนแต่งงาน และการสร้างระบบที่คุ้มครองสิทธิสตรีในการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมและศาสนา การปกป้องผู้หญิงจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบการแต่งงานที่ไม่สุจริต และการค้ามนุษย์ เป็นตัวอย่างหนึ่งในการทำให้เป้าหมายนี้สำเร็จ


⦿ เป้าหมาย 5.2: ขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับสตรีและเด็กหญิง

การป้องกันการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงานเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของบริษัท โดยมุ่งเน้นการหยุดยั้งความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัว ผ่านการสร้างกรอบ Nikah Guardian Thailand ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท ที่ช่วยตรวจสอบและดูแลการแต่งงานระหว่างวัฒนธรรมและศาสนา เพื่อให้มั่นใจว่าผู้หญิงไม่ได้ตกเป็นเหยื่อของการแสวงหาผลประโยชน์หรือถูกใช้เป็นเครื่องมือในการค้ามนุษย์

⦿ เป้าหมาย 5.3: ขจัดการแต่งงานในวัยเด็ก การแต่งงานโดยบังคับ

ในบางพื้นที่ของประเทศไทย การแต่งงานในวัยเด็กและการแต่งงานโดยบังคับยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ บริษัทได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ผ่านการสร้างความรู้และการจัดอบรมก่อนแต่งงาน ซึ่งช่วยให้ผู้หญิงและครอบครัวมีความเข้าใจในสิทธิตนเอง และหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของการแต่งงานในวัยเด็กหรือการแต่งงานโดยบังคับ


SDG 16: สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง (Peace, Justice and Strong Institutions)

⦿ เป้าหมาย 16.1: ลดความรุนแรงทุกรูปแบบในสังคม

บริษัทมุ่งเน้นการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและการแต่งงาน โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดจากการแต่งงานระหว่างวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งมักนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัว การสร้างระบบ Nikah Guardian เพื่อปกป้องผู้หญิงและเด็กจากความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของการลดความรุนแรงในสังคม

⦿ เป้าหมาย 16.2: ยุติการล่วงละเมิด การแสวงหาผลประโยชน์ และการค้ามนุษย์

บริษัทได้มุ่งเน้นการจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ผ่านการแต่งงาน โดยเฉพาะการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมและข้ามศาสนา โดยใช้ระบบตรวจสอบและคุ้มครองผู้หญิงจากการถูกล่อลวงให้แต่งงานเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศหรือแรงงาน การสร้างเครือข่ายระดับโลกเพื่อปกป้องผู้หญิงจากการค้ามนุษย์ผ่านการแต่งงานเป็นกลยุทธ์หลักในการยุติการล่วงละเมิดและการค้ามนุษย์

⦿ เป้าหมาย 16.3: ส่งเสริมหลักนิติธรรมในระดับชาติและระหว่างประเทศ

การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมและข้ามประเทศมักจะเกิดช่องว่างทางกฎหมายที่นำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์หรือการละเมิดสิทธิ บริษัท อารยา นิกะห์ แพลนเนอร์ มีบทบาทในการสร้างระบบที่ช่วยป้องกันและลดช่องว่างเหล่านี้ โดยการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางกฎหมายและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมเป็นไปตามหลักกฎหมายและมีความยุติธรรม

⦿ เป้าหมาย 16.7: ส่งเสริมการตัดสินใจที่ครอบคลุมและมีส่วนร่วมในทุกระดับ

บริษัทสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตคู่และครอบครัว ผ่านการให้ความรู้และการจัดอบรม การให้ผู้หญิงมีสิทธิ์เสียงและข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจเกี่ยวกับการแต่งงานและการสร้างครอบครัวที่มั่นคง ช่วยสร้างความยุติธรรมและความเสมอภาคในกระบวนการตัดสินใจ.


รายละเอียดวัตถุ ที่ประสงค์ ตามหนังสือรับรองบริษัท


(23) ประกอบธุรกิจบริการรับเป็นที่ปรึกษา และ ให้คำแนะนำ ปัญหา เกี่ยวกับ การจัดงานแต่งที่เกี่ยวข้อง กับบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม ให้แก่ บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการ และ องค์การของรัฐ 


(27) ประกอบกิจการ ให้การฝึกอบรม กิจรรมสันทนาการ และสัมนาความรู้ ด้านวิชาการ เกี่ยวกับ วัฒนธรรม การแต่งกาย วิถีชีวิต กฎหมายของบบุคลซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งไม่ใช่ การเรียนการสอนอันประกอบอาชีพ ปกติ ให้แก่บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการ และ องค์กรของรัฐ


(29) ประกอบกิจการรับเหมา จัดหา เป็นนายหน้า การจัดงานแต่งงาน การจัดเลี้ยง หรื อการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ที่นับถือศาสนาอิสลาม ให้แก่บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการ และ องค์กรของรัฐ

(36) ประกอบกิจการผลิตสิ่งพิมพ์ หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เข้าเล่ม เย็บปก ทำปก ทำเพลต ทำแม่พิมพ์ ถ่ายฟิล์ม ทำงานศิลป์

(37) ประกอบกิจการ ให้บริการ กิจการรการบริหารจัดการ และผลประมวลผลข้อมูล การจัดการ ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร เกี่ยวกับ การจัดงานแต่งงาน การจัดเลี้ยง หรือ การจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับบบุคลที่นับถือศาสนาอิสลาม ให้แก่บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการ และ องค์กรของรัฐ


อ้างอิง

  • INTERLINKAGES BETWEEN Trafficking in Persons and Marriage Issue paper 2020 , UNODC
  • ข่าว BBC : กค 2018  https://www.bbc.com/thai/thailand-45140391
  • The dark secret of Thailand’s child brides , theguardian.com :2018
  • spacebar สมรสมและหย่าร้าง 12 ก.ค. 2566
  • สถานการณ ์ เด็ก เยาวชนและผ้หูญิงในจงัหวดัชายแดนภาคใต้ 2021 ,ISBN: 978-616-93887-0-8
  • BBC news 2019
  • GLOBAL MUSLIM TRAVEL INDEX 2024 , Crescent Rating
  • Digital Economy Framework Agreement (DEFA): ASEAN
  • Global Slave index ,https://www.walkfree.org/
  • SDGs – SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS https://sdgs.un.org/goals